วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจัดรายการวิทยุ

เทคนิคการจัดรายการวิทยุ
ใน ฐานะผู้จัดรายการทุกคนควรพึงระวังไว้เสมอว่า ตนเองมีหน้าที่ถ่ายทอดบทที่เห็น หรือ ความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ไปถึงผู้ฟัง ผู้ชมด้วยน้ำเสียงของตัวเอง การได้ทราบก่อนว่างานที่ตนจะอ่านกระจายเสียงออกไปนั้นมีจุดประสงค์อะไร ย่อยจะเป็นผลดีต่อผู้ประกาศว่าเขาควรจะถ่ายทอดบทที่เห็นให้ไปถึงผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างไร
หน้าที่ของผู้จัดรายการที่เผยเเพร่นั้นแบ่งได้ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการบอกกล่าว (to inform) คือ ความพยายามที่จะรายงาน ถ่ายทอดสิ่งที่ได้ประสบให้ไปถึงผู้รับอย่างตรงไปตรงมา

2. เพื่อการโน้มน้าวใจ (to persuade) คือ ความพยายามที่จะทำให้ผู้รับมีความเห็นคล้อยตาม หรือโต้แย้ง
3. เพื่อให้ความรู้ (to aducate) คือ ความพยายามที่จะทำให้ผู้ฟังได้รับทราบรายละเอียดต่างๆอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
4. เพื่อให้ความบันเทิง (to entertain) คือ ความพยายามที่จะให้ผู้รับฟังเกิดความพึงพอใจ มีความสุขใจ
เมื่อเราได้ทราบวัตถุประสงค์หลักของการเผยแพร่สื่อสารแล้ว เราก็สามารถปรับการจัดรายการของเราให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาได้
การอ่านข่าว
เป็น การอ่านที่ต้องการความถูกต้อง ชัดเจน ความหนักแน่น ซึ่งหมายถึงความน่าเชื่อถือของผู้อ่าน ผู้อ่านเพียงทำหน้าที่บอกกล่าวเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงอารมณ์ลงไปในข่าว ความหนักแน่นควรจะก่อตัวจากความรู้สึกของความเชื่อมั่นในความถูกต้องของข่าว ที่อ่าน เสียงขาดความกระจ่างฟังแล้วเลื่อนลอย พึงระลึกไว้เสมอว่าความถูกต้องคือ หัวใจของการอ่าข่าว การอ่านถูกต้องอักขรวิธี เป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดในหมู่คนฟัง

การอ่านสารคดี

เป็น การอ่านประเภทเล่าเรื่อง จุดประสงค์เพื่อเป็นการบอกกล่าวและให้ความรู้ โดยแฝงความบันเทิงในรูปของการเล่าให้น่าฟัง น่าติดตาม ผู้อ่านควรอ่านให้เสมือนว่ากำลังเล่าสิ่งที่ตนไปเห็นมาให้ผู้อื่นฟัง ผู้อ่านจะต้องมองเห็นภาพผ่านตัวหนังสือ ความรู้สึกย่อมจะเกิดขึ้น ผู้ฟังก็จะเกิดการคล้อยตามและเห็นไปตามที่ได้ยิน ข้อควรระวังคือ น้ำเสียง อารมณ์ และถ้อยคำจะต้องไปด้วยกัน

การอ่านบทความ

เป็น การอ่านที่ผู้อ่านใช้ความพยายามที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อมั่นและคล้อย ตาม การอ่านบทความนั้นเราจะอ่านอย่างไรก็ได้เพียงขอให้ผู้ฟัง ผู้ชมเชื่อและถือปฏิบัติตามที่เราอ่าน

การอ่านการพูดในรายการเพลง

บาง ครั้งผู้จัดรายการจะเตรียมต้นฉบับไว้อ่านในรายการหรือไม่เตรียมก็ได้ ใช้พูดสดแนะนำเพลงและพูดคุยกันไปเรื่อยๆ ผู้จัดรายการจำเป็นต้องทำหน้าที่ของผู้สนทนาหรือเพื่อนคุย การพูดคุยควรจะเป็นไปเพื่อความบันเทิง เนื้อหาที่ให้ควรสอดคล้องเข้ากันได้กับเสียงเพลงที่เปิด เมื่อเพลงจบควรจะมีความต่อเนื่องระหว่างเสียงเพลงกับการพูดคุย สนทนา การพูดแนะนำเพลง บอกชื่อเพลง ผู้ร้อง ผู้แต่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เว้นไว้แต่เพลงนั้นจะเป็นที่นิยมกันมากและเราเคยบอกไปหลายครั้งแล้ว
ใน กรณีที่เราจะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้สัมภาษณ์ ลักษณะของการสัมภาษณ์คือ กานสนทนานั่นเอง ผู้สัมภาษณ์ ควรสร้างบรรยากาศของความเป็นกันเอง ลีลาของคำถามแต่ละคำถามควรมีลักษณะเป็นการพูดคุยธรรมดา พึงระลึกไว้เสมอว่า รายการสัมภาษณ์จะน่าสนใจ ชวนฟัง หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้สัมภาษณ์ ต้องทำหน้าที่ในฐานะแทนผู้ฟังถามคำถาม

รูปแบบ&เทคนิคการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

ผศ.ธีรภัทร วรรณฤมล
คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ของการเป็นนักจัดรายการวิทยุนักเล่าเรื่อง•นักขายฝัน•การมีส่วนร่วมกับผู้ฟัง
การจัดรายการวิทยุให้ประสพความสำเร็จ
1.รู้จักตนเอง
ลักษณะของนักวิทยุฯ
•จิตใจใฝ่รู้
•ไวต่อการรับข่าวสาร
•มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
•ใจกว้าง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
•มีหลักการ มีเหตุผล มีจิตใจที่มั่นคง
•มีความอดทนต่อแรงกดดันต่างๆ
•สนใจการพัฒนาชุมชน
•สนใจการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
•มีความทันสมัย มีวิสัยทัศน์
•มีความสามารถในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
2. รู้จักหน้าที่
1.ให้ข่าวสาร : รายการข่าว,ประกาศประชาสัมพันธ์ต่างๆ
2.ให้ความรู้ : รายการสาระต่างๆเช่นบทความ,สัมภาษณ์
3.ให้ความบันเทิง : รายการเพลง,ละคร,ตลก
4.ให้ข้อมูลการประชาสัมพันธ์(จูงใจ): การรณรงค์ต่างๆ

รายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้น

•วัฒนธรรมถิ่น
•การงานอาชีพ,ทักษะ
•สุขภาพ
•ครอบครัว ,สตรี,เด็ก
•ศาสนา,จริยธรรม
•ภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายการ/ประเด็นที่ควรหลีกเลี่ยง
•รายการที่มีเนื้อหาลบหลู่สถาบันสำคัญต่างๆของสังคม
•รายการที่มีเนื้อหาเชิงยุยงให้เกิดความแตกแยก
•รายการที่มีเนื้อหายั่วยุในทางที่เสื่อม ผิดศีลธรรม
•ขัดต่อกฎหมายหรือจารีตประเพณีอันดีของชุมชน
•ไม่อยู่ในรสนิยมอันดี ไม่รับผิดชอบต่อสังคม
•มุ่งเน้นการโฆษณา
3. ธรรมชาติของสื่อวิทยุ
•สั้น กระชับ ฟังแล้วเข้าใจทันที
•เน้น
ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร
•วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อแห่งการพูดคุย
•วิทยุเป็นสื่อของการมีส่วนร่วม
•การทำงานเป็นทีม4. กลุ่มเป้าหมาย
•เพศ
•ความชอบ
•สร้างรูปแบบ
•อายุ
•ถามกลุ่มเป้าหมาย(สัมภาษณ์กลุ่ม)
การออกแบบรายการวิทยุฯ
1.กลุ่มเป้าหมาย
2.เนื้อหา : ข่าวสาร ความรู้ บันเทิง
3.วิธีการนำเสนอ
4.ความยาว
5.เวลาในการออกอากาศ
6.การประเมินผล
5.การประเมินผล
•ประเมินความพึงพอใจของผู้ฟัง
•นำมาปรับปรุงรายการ
ข่าวสารที่รับฟังมากที่สุด
•ข่าวการเมือง35.3%
•ข่าวบันเทิง19.3%
•ข่าวกีฬา10.6%
สาเหตุที่ฟังวิทยุ
•ความรวดเร็วทันเหตุการณ์37.7%
•พกพาไปได้ทุกที่32.1%
ชอบดีเจแบบไหน
•พูดมีสาระ45.5%
•ให้ข่าวสาระ11.2%
•คุยสนุก9.6%
•พูดเป็นกันเอง8.9%
•เปิดเพลงเยอะๆ7.8%
ไม่ชอบดีเจแบบไหน
•พูดมาก51.7%
•พูดแทรกเพลง14.3%
•พูดโฆษณามากไป10.3%
•พูดไร้สาระ7.4%
•พูดปนหัวเราะ3.1%
ที่มา http://www.3comwefm.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538702526&Ntype=5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น